Tech Corner

ฝนตกน้ำท่วม สถานการณ์เช่นนี้ มีวิธีการดูแลเบรกของท่านอย่างไร

            วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการดูแล ผ้าเบรกของท่าน ในช่วงฝนตก น้ำท่วม หรือจอดรถล้อจมน้ำเป็นเวลานาน จะมีวิธีอย่างไร ในการซ่อมแซม ให้ท่านสามารถใช้เบรกได้เต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัยเช่นเดิม ซึ่งโดยปกติแล้วผ้าเบรกมีคุณสมบัติที่ไม่ดูดซับน้ำอยู่แล้วแต่การที่ผ้าเบรกถูกแช่น้ำหรือสัมผัสกับน้ำตลอดเวลาขณะขับรถ จะทำให้ผ้าเบรกมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง เพราะเพื่อเป็นการป้องกันท่านควรดูแลรักษาเบรกทั้งระบบจะดีกว่า เพราะนอกจากผ้าเบรกแล้วส่วนที่เกี่ยวข้องขณะเบรกทำงานที่ต้องการดูแลรักษายังมีอีก เช่น จานเบรก  น้ำมันเบรกและอุปกรณ์เบรกต่างๆซึ่งถ้าโดนน้ำเข้าไปแล้วก็มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของเบรกลดลงได้เช่นกัน

 

วิธีตรวจเช็คและ วิธีการจัดการ ระบบเบรกทั้งระบบ

1. เช็คระยะดึงเบรกมือรถของท่านว่าอยู่ในระยะปกติหรือไม่ ( ระยะดึงเบรกมือข้างเอว 5-7 แก๊ก , ใต้คอพวงมาลัย 9-11 แก๊ก ) ไม่ให้ชิดเกินไปเพราะถ้าเบรกหลังแช่น้ำหรือถูกน้ำนานอาจทำให้เบรกหลังติดได้จำนวนแก๊ก ก็จะน้อยลงตามไปด้วย brake28
2. เช็คปริมาณ และสีของน้ำมันเบรก ว่ามีการรั่วซึม ที่แม่ปั้มเบรกหรือไม่ (น้ำมันเบรกควรเปลี่ยนทุกๆ 20,000 ก.ม.หรือปีละครั้ง , DOT อะไรก็ได้สีต้องใส)

3. วิธีตรวจเช็คดิสก์เบรก ยกรถให้ล้อคู่หน้าลอยขึ้น หรือทั้งสี่ล้อ

3.1 เริ่มต้นการตรวจเช็คด้วยการโยกยางเช็คลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือแตกเกิดจากจารบีที่ลูกปืน ละลายไปกับน้ำจนหมดหรือไม่ (ลูกปืนบางรุ่น สามารถอัดจารบีใหม่ได้ , บางรุ่นต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด)
3.2 ตรวจเช็คสภาพจานดิสก์เบรกล้อหน้าเป็นสนิม , สึกเป็นร่อง และเป็นเส้นหรือไม่ ( สามารถปรับแต่งด้วยการเจียรจานเบรกใหม่ )
3.3 เช็คชุดคาลิเปอร์เบรกที่ประกอบด้วยสลักเลื่อนหรือสไลด์เบรกที่ต้องหล่อลื่นด้วยจารบีที่ทนความร้อนทุก 10,000 ก.ม. เช็คสภาพยางกันฝุ่นต้องไม่นิ่มเปื่อยหรือมีน้ำมันเบรกรั่วซึมเพราะจะทำให้น้ำเข้าไปปนกับน้ำมันเบรกได้ ถ้ามีสภาพที่ไม่ปกติให้เปลี่ยนชุดซ่อมแซมเบรกใหม่

 

3.4 เช็คสภาพผ้าดิสก์เบรก เช่น ความหนาต้องไม่ต่ำกว่า 2-3 ม.ม. , ผิวหน้าผ้าดิสก์เบรกต้องไม่มันลื่นซึ่งสามารถใช้กระดาษทรายละเอียดขัดหรือลูบเบาๆให้เรียบเสมอกันได้ ( ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมโลหะน้อยๆหรือที่ช่างเรียกว่าผ้านิ่มจะซึมซับน้ำได้ง่ายทำให้ผิวหน้าผ้าเบรกด้านลื่นได้ขณะโดนน้ำหรือแช่น้ำนานๆ )

 

4. วิธีตรวจเช็คดรัมเบรก ยกล้อรถคู่หลังให้ลอยขึ้น

4.1 เช็คสภาพจานดรัมเบรก เช่น ผิวหน้าภายในจานดรัมเบรกเป็นรอยเส้นหรือสึกหรอจนขึ้นขอบหรือมีสนิมจับอยู่ให้ทำการปรับแต่งด้วยการเจียรให้เรียบหรือถ้าไม่สึกหรอเป็นรอยเส้นมากก็ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดหรือลูบเบาๆก็ได้

4.2 เช็คสภาพผ้าก้ามเบรก เช่น ความหนาไม่ควรต่ำกว่า 1 มม.และใช้กระดาษทรายละเอียดขัดหรือลูบเบาๆให้เรียบเสมอกัน

4.3 เช็คสภาพกระบอกเบรก เช่น ยางกันฝุ่นทั้งสองข้างมีสภาพนิ่มหรือเปื่อยจนมีน้ำมันเบรกรั่วซึมออกมาหรือไม่ถ้ามีสภาพไม่สมบูรณ์ให้เปลี่ยนชุดซ่อมหรือทั้งกระบอก

 

ข้อควรปฏิบัติ

 

1. ล้างเบรกด้วยน้ำยาล้างเบรกที่มีสารเคมีช่วยบำรุงรักษาชุดเบรกที่มีลูกยางและไม่ทำให้ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะเกิดสนิม

2. ใช้จารบีทนความร้อนสูงหล่อลื่นที่สลักเลื่อน / สไลด์เบรกของก้ามปูเบรกที่ชุดคาลิเปอร์เบรกทุกๆ 10,000 กม.หรือทุกครั้งที่มีการถอดผ้าเบรก , ทาจารบีที่จุดสัมผัสของก้ามเบรกทั้ง 6 จุดเพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างฝักเบรกกับแผ่นหลังจานดรัมเบรก

 

 

Download

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่น