Tech Corner

การแก้ปัญหาอาการเบรกเสียงดังแหลม

     ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งหลังจากการเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ นั่นก็คือปัญหาเสียงรบกวนขณะเบรกที่เป็นเสียงแหลม เสียงกรี๊ด เสียงหอน

หรือเสียงครางต่ำ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นไม่ยาก หากมีการวิเคราะห์ ตรวจหาสาเหตุ และแก้ไขอย่างถูกต้องตั้งแต่เบื้องต้น   โดยจะขอยกตัวอย่าง

กรณีที่ฝ่ายเทคนิคของ Bendix ได้ไปทำการแก้ไขมาแล้ว ให้เป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้สำหรับกรณีปัญหาเสียงที่เกิดกับรถคันอื่น ๆ


     รถยนต์ Toyota VIOS ปี 2003 ระบบเบรกหน้า เป็นดิสก์เบรก หลังเป็นดรัมเบรก อาการคือมีเสียงหอนขณะเบรก และเบรกไม่ค่อยอยู่

หลังจากที่ได้พูดคุยซักถามข้อมูลกับเจ้าของรถแล้ว จึงลงมือทำการตรวจสอบ ค้นหาปัญหา จึงได้พบว่า


1. ผิวหน้าจานเบรกไม่เรียบ

2. แรงดันน้ำมันเบรกลดลง

3. ลูกสูบเบรกค้าง

4. จานเบรกไหม้ และผิวหน้าเป็นมันลื่น


ซึ่งปัญหาที่ตรวจพบข้างต้นนั้น ก็ด้วยเครื่องมือที่จำเป็นตามที่ Bendix ได้แนะนำ โดยมีข้นตอนการทำงานดังนี้




     1. ใช้ไดอัลเกจวัดความเรียบ และการบิดเบี้ยวของผิวหน้าจานดิสก์เบรก (ล้อหน้า) ถ้าค่าที่วัดได้

มีความเบี่ยงเบนเกิน 0.10 มิลลิเมตร ก็ให้ทำการเจียร์จานเบรกใหม่ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากจานเบรก

มีความบิดเบี้ยว หรือมีเส้นรอยบนผิวหน้าจานเบรกที่เกิดจากการเสียดสีของผ้าเบรก จะมีมากหรือน้อย

ขึ้นอยู่กับแรงเหยียบเบรก ความเร็วของรถ การหมุนของจานเบรก (หมุนนิ่ง หรือแกว่ง) และชนิดของ

เนื้อผ้าเบรก


     2. ทดสอบแรงดันน้ำมันเบรกด้วยการเหยียบเบกค้างไว้ หากพบว่าที่แป้นเบรกมีแรงต้านลดลง

แสดงว่าน้ำมันเบรกมีแรงดันลดลง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำมันเบรกได้รับความร้อนจนเดือดกลายเป็นไอ

และมีความชื้นปนอยู่ จึึงนำเครื่องมือวัดค่าความชื้นของน้ำมันเบรกมาตรวจสอบหาค่าความชื้นที่ปน

อยู่ในน้ำมันเบรก ซึ่งจะส่งผลถึงลูกยางและซีลยางในกระบอกเบรกทำให้เปื่อยยุ่ยง่าย และเกิดการ

รั่วซึมของน้ำมันเบรกอันเป็นสาเหตุให้แรงดันน้ำมันเบรกลดลง

    

     3. ตรวจสอบหารอยรั่วซึมของน้ำมันเบรก บริเวณยางกันฝุ่นเบรก ที่กระบอกเบรก (ล้อหลัง) หาก

พบมีรอยฉีกขาดเปื่อยยุ่ย ให้ทำการเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกใหม่ทั้งระบบ

 


     4. ปัญหาผิวหน้าจานดิสก์เบรก และจานดรัมเบรกเป็นสีดำปนน้ำเงิน และเป็นมันลื่น เกิดจากการ

เหยียบเบรกรุนแรงซ้ำ ๆ หลังการเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ จนเกิดความร้อนสะสมทำให้ผ้าเบรกไหม้และจาน

เบรกไหม้ ความฝืดระหว่างหน้าสัมผัสของผ้าเบรกและจานเบรกลดลง แก้ไขด้วยการเจียร์จานเบรกใหม่

 

     หลังจากแก้ปัญหาระบบเบรกทั้งหลายเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายเทคนิคได้แนะนำให้เจ้าของรถต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุก ๆ

ปีหรือทุก 30,000 กิโลเมตร และหมั่นตรวจสอบบำรุงรักษาระบบเบรกทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร ด้วยการตรวจดูความหนาของผ้าเบรก

การยืดหยุ่นของซีลยางต่าง ๆ ไม่มีการรั่วซึมหมั่นเป่าทำความสะอาดฝุ่นผงที่ตกค้างอยู่ในระบบเบรก โดยเฉพาะดรัมเบรกที่เป็นระบบ

ปิด และไม่ลืมที่จะแนะนำให้ลูกค้าทราบถึงการเลือกผ้าเบรกให้เหมาะกับการใช้งาน และรูปแบบการขับขี่

ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่น