Tech Corner

การลบขอบมุมผ้าเบรก (Chamfer) มีผลต่อประสิทธิภาพเบรกหรือไม่



เพื่ออธิบายถึงกรณีดังกล่าว จึงขออ้างอิงถึงสูตรการคำนวณประสิทธิภาพของการเบรกดังนี้





ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน

 
      คือ ดัชนีวัด่าความเสียดทานของวัตถุชิ้นนั้น ๆ ซึ่งในผ้าเบรกแต่ละเกรดจะมีค่าไม่เท่ากัน (เรียกง่าย ๆ ว่าความฝืดของผ้าเบรก) เช่นผ้าเบรก

เจเนอรัล ซีที (General CT) มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานเป็น FF มีค่าเท่ากับ 0.35 ไม่เกิน 0.45 ขณะที่ผ้าเบรกอัลติเมท (Ultimate) จะมี

ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานเป็น GF มีค่าเท่ากับ 0.45 แต่ไม่เกิน 0.55



แรงกดที่ผิวหน้าผ้าเบรกต่อพื้นผิว


      คือ แรงกดที่หน้าผ้าเบรกกระทำต่อจานเบรก โดยหารเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่ผิวหน้าผ้าเบรก ซึ่งได้จากสูตร





     เมื่อพิจารณาจากสูตรการคำนวณประสิทธิภาพของเบรกแล้ว (สูตรที่ 1) จะพบว่าการที่จะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นนั้น  ก็คือต้องเพิ่มค่า

สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของผ้าเบรกชุดนั้น (ทำให้ผ้าเบรกมีความฝืดมาก ๆ ) หรือการเพิ่มแรงกดที่ผิวหน้าผ้าเบรก เมื่อนำทั้ง 2 ค่ามาคูณ

กันแล้ว ตัวเลขที่ได้ก็จะสูงขึ้น นั่นก็คือประสิทธิภาพของผ้าเบรกที่สูงขึ้น


     และจากการที่ผู้ผลิตผ้าเบรกทำการลบขอบมุมผ้าเบรก ซึ่งทำให้พื้นผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกลดลง ก็จะไปสัมพันธ์กับสูตรที่ 2 ซึ่งเมื่อ

พิจารณาจากสูตรที่ 2 แล้ว การที่จะเพิ่มแรงกดที่ผิวหน้าผ้าเบรกจะต้องทำดังนี้


     1. เพิ่มแรงดันของลูกสูบเบรก (ขยายหม้อลมเบรก, เหยียบเบรกด้วยน้ำหนักมากขึ้น, เพิ่มจำนวนลูกสูบเบรก หรือ ขยายขนาดของลูกสูบ

เบรก เป็นต้น)


     2. ลดพื้นที่ผิวหน้าผ้าเบรก


     เมื่อนำค่าทั้ง 2 มาหารกัน ก็จะทำให้ได้ค่าตัวเลขที่สูงขึ้น นั่นหมายถึงแรงกดที่ผิวหน้าผ้าเบรกเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงว่าการลบขอบมุมผ้าเบรก

ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของผ้าเบรกลดลงแต่อย่างใด หากแต่ว่าการที่ทำให้ผิวหน้าผ้าเบรกลดลง ย่อมส่งผลถึงเรื่องของการสึกหรอของผ้าเบรก

ซึ่งจะทำให้ผ้าเบรกสึกหรอเร็วขึ้น และผ้าเบรกมีการสะสมความร้อนเพิ่มมากขึ้น การระบายความร้อนลดลง


 แล้วทำไมผู้ผลิตถึงต้องทำการลบขอบมุมผ้าเบรก (Chamfer)

 

     ประโยชน์ที่แท้จริงของการลบขอบมุมผ้าเบรก (Chamfer) นั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำให้แรงกดที่ผิวหน้าผ้าเบรกเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด หากแต่

เป็นเรื่องของการลดปัญหาเสียงรบกวน ซึ่งวิศวกรผู้ออกแบบผ้าเบรกจะเลือกทำเฉพาะผ้าเบรกบางรุ่นเท่านั้น เพื่อขจัดปัญหาเรื่องเสียงดังขณะ

ใช้งานเบรก ซึ่งในการเบรกแต่ละครั้งจะต้องเกิดเสียงขึ้นทุกครั้ง เนื่องจากการเสียดสีกันระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก จนเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น

และก่อตัวเป็นคลื่นเสียง ถ้าคลื่นเสียงที่เกิดจากการเบรกของรถคันนั้นเป็นคลื่นเสียงในช่วงความถี่ 20 - 20,000 เฮิรตซ์ (Hz) เราก็จะได้ยินเสียง

จากการเบรกนั้น ซึ่งเรียกว่าเสียงรบกวนเพราะเป็นเสียงที่น่ารำคาญ แต่หากคลื่นเสียงนั้นอยู่ในช่วงความถี่ที่สูงกว่า 20,000 เฮิรตซ์ (Hz) หรือต่ำ

กว่า 20 เฮิรตซ์ (Hz) เราก็จะไม่ได้ยินเสียงที่เกิดจากการเบรกของรถคันนั้น


*****มนุษย์จะได้ยินเสียงที่ความถี่ตั้งแต่ 20 - 20,000 เฮิรตซ์ (Hz) เท่านั้น


     องค์ประกอบที่ทำให้คลื่นเสียงมีความถี่ที่แตกต่างกันก็คือ ขนาด มวล (ความหนาแน่น) และรูปร่างของวัตถุ ที่เป็นต้นกำเนิดเสียง (ในระบบ

เบรกได้แก่ ผ้าเบรก, จานเบรก, ชิ้นส่วนช่วงล่าง ต่าง ๆ เป็นต้น) ดังนั้นการที่วิศวกรได้เลือกใช้วิธีการลบขอบมุมผ้าเบรกก็เพื่อเปลี่ยนขนาด และ

รูปร่างของผ้าเบรกชุดนั้น เพื่อให้คลื่นเสียงที่เกิดจากผ้าเบรกชุดนั้นเปลี่ยนไปเป็นคลื่นเสียงที่อยู่ในช่วงความถี่ที่มนุษย์ไม่ได้ยิน


     จึงสรุปได้ว่าการลบขอบมุมผ้าเบรกไม่มีผลทำให้ประสิทธิภาพของผ้าเบรกลดลง แต่ทำเพื่อไม่ให้เกิดเสียงรบกวนจากการใช้งาน

ผ้าเบรกชุดนั้น เท่านั้นเองครับ แต่ทางเบ็นดิกซ์ไม่แนะนำให้ท่านทำการลบขอบมุมผ้าเบรก โดยปราศจากคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

ของเบ็นดิกซ์นะครับ เพราะจะทำให้มีผลต่อการรับประกันของผ้าเบรกชุดนั้น ๆ ครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเิติม ติดต่อได้ที่ฝ่ายเทคนิค

084-448-6-884

ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่น